ทริปเหนือ,เชียงใหม่ทริป ,เที่ยวเชียงราย ,ทัวร์เชียงราย ,เที่ยวปาย ,ทัวร์ปาย ,ทัวร์แม่ฮ่องสอน ,เที่ยวแม่ฮ่องสอน ,ทัวร์กอล์ฟเหนือ ,ตีกอล์ฟเชียงราย ,ตีกอล์ฟเชียงใหม่
ReadyPlanet.com
dot
แพ็กเก็จทัวร์เหนือท่านออกแบบได้
แพ็กเก็จทัวร์เหนือ ส่วนตัว


เพิ่มเพื่อน
Line id  : @konthaitour
Konthaitour VDO
LINE Stickers  Konthaitour Vo2.
ครอบครัว คนไทยทัวร์ รูปแบบ Line sticker Vo1.
รีวิวจากฃูกค้า
กิจกรรมเพื่อสังคม ( CSR ) สานฝัน ปันรอยยิ้ม
ทำไมท่านต้องตัดสินใจใช้บริการเรา /เรามีคำตอบค่ะ
แพ็กเก็จทัวร์ภาคเหนือ / ทัวร์ส่วนตัว ไม่มี Join
VIP-Executive Tour Service
ประชุมสัมมนา-เช่ารถตู้-ทัวร์หมู่คณะ ,ทัวร์เหมา
ทีมงานคนไทยทัวร์
ประชุม สัมมนา ,งานเลี้ยง ,กิจกรรมต่างๆ ,ปาร์ตี้ส่วนตัว ,Tour organize,golf arrangement ,events ,ทัศนศึกษา
คนไทยทัวร์   รับสมัคร Partner คู่ใจทั่วประเทศ
สถานที่เที่ยวภาคเหนือ รวมฮิต / Northern Attractions Review By Konthaitour
โรงแรม รีสอร์ท บ้านพัก HOME STAY ที่พัก ภาคเหนือ Review By Konthatour
 ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านของกิน ภาคเหนือ  Review By Konthaitour
tripadvisor
www.konthaitour.com Source Code:


ข้อมูลท่องเที่ยวน่าน

 

แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์
แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง
 
ข้อมูลทั่วไป
 
วัดน่านมีเพียง ร้อยละ 14 เท่านั้น จะกระจัดกระจายอยู่ตามหุบเขาในอำเภอต่างๆ ชุมชนตามที่ราบลุ่มเหล่านี้จะใช้ระบบการทดน้ำท้องถิ่น ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร ทุกปีเครือข่ายชุมชนที่ใช้ระบบการประปาร่วมกัน โดยเฉพาะ ไทลื้อ ลาวพวน จะร่วมกันจัดงานสักการะดวงวิญญาณที่เฝ้าดูแลรักษาป่า
แม่น้ำที่เป็นเสมือนเส้นเลือดของชาวน่าน คือ แม่น้ำน่าน มีต้นกำเนิดจากดอยขุนน้ำน่าน ตำบลขุนน่าน อำเภอบ่อเกลือ ซึ่งจะไหลขึ้นเหนือไปทางอำเภอทุ่งช้าง ก่อนจะไหลลงใต้ ไปยังอำเภอปัว, ท่าวังผา, เมืองน่าน, เวียงสา หลังจากนั้นจะไหลลงไปยังจังหวัดอื่น คือ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และ พิจิตร จึงไปรวมกับแม่น้ำยมที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ และแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากน้ำโพ นครสวรรค์ ร้อยละ 40 ของลำน้ำน่านนั้นหล่อเลี้ยงลำน้ำเจ้าพระยา
ความเกี่ยวดองกันด้วยศรัทธาในพุทธศาสนา วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติที่มีร่วมกันทำให้ชาวน่านมีเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็งเรียนรู้ที่จะอยู่กับความเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงตระหนักถึงความเป็นตัวเองอยู่เสมอ อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
 
 
การเดินทาง
 
          รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 มาจนถึงจังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 117 มาจนถึงจังหวัดพิษณุโลกและใช้ทางหลวงหมายเลข 11 โดยจะผ่านจังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอเด่นชัย (จังหวัดแพร่) จากเด่นชัยใช้ทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านจังหวัดแพร่ไปจนถึงตัวจังหวัดน่าน รวมระยะทางประมาณ 668 กิโลเมตร
 
          รถโดยสารประจำทางสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 (หมอชิต 2) มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศไปจังหวัดน่านทุกวัน ติดต่อ บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 0 2936 2852-66 www.transport.co.th และมีบริษัทเอกชนหลายแห่งที่บริการเดินรถไปจังหวัดน่าน ติดต่อ  แพร่ทัวร์ โทร. 0 2245 2369, 0 2245 1697 และ 0 2936 3720 สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 2495-6 และ 0 5471 0122 เชิดชัย ทัวร์ โทร. 0 5471 0362, 0 2936 0199
         
รถไฟ จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ(หัวลำโพง) ไปลงที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ แล้วจึงต่อรถโดยสารประจำทางมาที่จังหวัดน่าน ระยะทาง 142 กิโลเมตร รายละเอียดติดต่อหน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 0 2223 7010, 0 2223 7020, 1690 www.railway.co.th  
 
          เครื่องบิน บริษัท แอร์อันดามัน บริการเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-แพร่-น่าน สำรองที่นั่ง โทร. 0 2229 9500 www.airandamaon.com
 
ประวัติ
 
หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในบริเวณจังหวัดน่าน เช่น เครื่องมือหิน กลองสัมฤทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีศพสำหรับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงต้ เป็นเครื่องยืนยันว่าดินแดนนี้มีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์
ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ขุนน่านและขุนฟองได้นำผู้คนอพยพจากตอนบนของแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานยังที่ราบลุ่มตอนบนของแม่น้ำน่าน ใกล้กับเทือกเขาดอยภูคา
และในปี พ.ศ. 1902 เจ้าพระยาการเมืองย้ายเมืองไปยังเวียงภูเพียงแช่แห้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านซึ่งไม่ได้ใหญ่กว่าหรืออุดมสมบูรณ์กว่าเมืองปัวแต่ใกล้กับเมืองสุโขทัยมากขึ้น
ในปี พ.ศ. 1911 เจ้าพระยาผากองบุตรของเจ้าพระยาการเมืองได้ย้ายเมืองมายังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านซึ่งเป็นเมืองน่านในปัจจุบัน ตามศิลาจารึกหลักที่ 45 และ 46 ในปี พ.ศ. 1935 ปู่พระยา (เจ้าพระยาผากอง) และพระราชนัดดา (พระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย) ได้ให้คำสาบานที่จะช่วยเหลือกันและกันในยามสงคราม ความสัมพันธ์ระหว่างน่านและสุโขทัยได้ดำเนินมาจนกระทั่งสุโขทัยผนวกเข้ากับอยุธยาในปี พ.ศ. 1981
เมืองน่านมีความสัมพันธ์ติดต่อค้าขายกับนครรัฐเล็กๆ รอบบ้าน เช่น หลวงพระบาง ล้านช้าง และสิบสองปันนา รัฐเหล่านี้มีความร่วมมือทางการเมืองอย่างเข้มแข็ง ทำการค้าขายกันตามเส้นทางแม่น้ำโขงด้วยคาราวานเกวียน
ก่อนหน้าที่น่านจะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งองล้านนาทั้งสองดินแดนมีความสัมพันธ์กันผ่านการค้าวัวต่าง และเมื่อเชียงใหม่ตกเป็นประเทศราชของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแห่งพม่า ในระหว่างปี พ.ศ.2096-2101 เจ้าพระยาพลเทพฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้หลบหนีไปยังเมืองหลวงพระบาง และน่านตกอยู่ภายใต้การ    ปกครองของพม่าจนกระทั่งสิ้นกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310
ระหว่างปี พ.ศ. 2101 2317 น่านพยายามต่อสู้เพื่ออิสรภาพจากพม่าหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2246 ถือว่าเป็นช่วงเวลาทุกข์เข็ญ ผู้คนต้องหลบหนีสงครามเข้าป่า บางคนถูกจับเป็นเชลยในพม่า ทั้งเมืองและวัดถูกเผาทำลายลง
          ในปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าหลวงเมืองน่าน หันมาสวามิภักดิ์กรุงเทพฯ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1) เมื่อ พ.ศ.2333 น่านเริ่มนโยบาย “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” มีการอพยพชาวไทลื้อจำนวนมากกลับสู่เมืองน่าน
 
ในสมัยรัชกาลที่ 5 กรุงเทพฯถูกคุกคามจากลัทธิล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสได้ก่อให้เกิดการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองล้านนา เพื่อรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง ตั้งแต่ พ.ศ.2435 รัฐบาลกลางกรุงเทพฯได้แต่งตั้งข้าหลวงเข้ามาแทนคณะขุนนางผู้ช่วยเจ้าผู้ครองนครในการบริหารกิจการบ้านเมือง
หลังจากเหตุการณ์ ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) ไทยต้องยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแก่ฝรั่งเศส เมืองน่านจึงเพิ่มความสำคัญมากขึ้นในฐานะเมืองหน้าด่านติดกับเมืองหลวงพระบางในลาวซึ่งเป็นของฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าเมืองน่านกับกรุงเทพฯดำเนินไปด้วยดี รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเป็นพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเพื่อตอบแทนคุณงามความดีที่น่านช่วยกรุงเทพฯในสงครามปราบกบฏที่เชียงตุง
 นครเมืองน่านกลายเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 หลังจากเจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าเมืองน่านองค์สุดท้ายถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2474 จึงยกเลิกระบบการปกครองโดยเจ้าผู้ครองนครนับแต่นั้นเป็นต้นมา
 
รู้จักคน รู้จักชุมชน
 
น่านมีจำนวนประชากร 514,688 คน ประกอบด้วยหลายชนเผ่าได้แก่
ไทยวนเป็นคนกลุ่มใหญ่ของเมืองน่าน ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำน่าน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าเป็นบรรพบุรุษของคนเมืองน่านที่อพยพมาจากล้านช้างฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
ไทลื้อ มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณชายแดนพื้นที่รอยต่อระหว่างสิบสองปันนาเชียงตุง ลาว และล้านนา อพยพเข้ามาในประเทศไทยหลายครั้ง ทั้งจากเหตุผลทางการดำรงชีพ การถูกกดขี่จากจีน และพม่า หรือหนีภัยสงครามช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน บ้างก็อพยพตามสายเครือญาติ และการค้าขาย วัฒนธรรมไทลื้อกับไทยวนมีความคล้ายคลึงกันทั้งภาษา ศาสนา การแต่งกาย อาหาร งานหัตถกรรม โดยเฉพาะวิถีการผลิตแบบ เอ็ดนาเมืองลุ่ม” หรือทำนาดำ เอกลักษ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทลื้อคือ ผ้าทอลายน้ำไหลและลายลื้อ โดยใช้เทคนิควิธีที่เรียกว่า “เกา” หรือ “ล้วง”
 
ลัวะ/ถิ่น เป็นกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานมาดั้งเดิม รวมทั้งที่อพยพมาจากเมืองไชยบุรี สปป.ลาว ส่วนคำว่า “ถิ่น” เป็นชื่อที่ทางการไทยเรียกกลุ่มชนดั้งเดิมกลุ่มนี้ในจังหวัดน่าน            ลัวะมักตั้งบ้านเรือนบนพื้นที่สูงระหว่าง 2,500-3,000 ฟุต จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณลำน้ำสาขาแม่น้ำน่าน เช่น น้ำวาง น้ำว้า และน้ำมาง ดำรงชีพด้วยการปลูกข้าวไร่ และหาของป่า มีฝีมือในการจักสานหญ้าสามเหลี่ยมเป็นภาชนะต่างๆ หลายๆ หมู่บ้านยังคงความเชื่อดั้งเดิมที่ผีสัมพันธ์กับธรรมชาติ เช่น ผีป่า ผีน้ำ ผีไร่ และผีบรรพบุรุษ งานพิธีใหญ่ที่สุดในรอบปีได้แก่ พิธีโสลด” (อ่าน สะโหลด) หรือพิธี “กิ๋นดอกแดง”เพื่อเฉลิมฉลองผลผลิต และเพื่อเตรียมต้อนรับฤดูการผลิตใหม่ ปัจจุบันลัวะตั้งถิ่นฐานมากที่สุดในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ รองลงมาคือ ที่อำเภอบ่อเกลือ ปัว ทุ่งช้าง และเชียงกลาง
ขมุ สันนิฐานว่าตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหมู่บ้านชายแดนเมืองน่านและลาว เมื่อประมาณเกือบ 200 ปีก่อน สันนิษฐานว่าในปี พ.ศ.2373 ขมุถูกกวาดต้อนเพื่อเป็นกำลังในการสร้างกำแพงเมืองเก่าน่าน เจมส์ เอฟ แม็คคาธีร์ได้สำรวจเพื่อทำแผนที่ทางภาคเหนือช่วงปี พ.ศ.2433-2436 กล่าวถึงขมุตามชายแดนเมืองน่านว่ามี 2 กลุ่ม คือ ขมุ (ลาว เรียกว่า ข่า) หรือ “ข่าลาว” อยู่ใต้อำนาจหลวงพระบางและขมุที่อยู่ใต้อำนาจของน่าน เรียก “ข่าแคว้น”ชาวขมุได้ชื่อว่ามีฝีมือในการตีเหล็กเพื่อเป็นเครื่องมือ เช่น มีด ดาบ จอบ เสียม
 ม้ง (แม้ว) ตำนานของชนเผ่ากล่าวว่า อพยพมาจากที่ราบสูงทิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลียสู่ประเทศจีน ลาว และไทย เชื่อว่าม้งอพยพมาเมืองน่านราว พ.ศ. 2433-2442 มีความสามารถในด้านการค้า เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย และทำเครื่องเงิน ชาวม้งมีความเชื่อว่าโลหะเงินเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง และมงคลแก่ชีวิต
เย้า (เมี่ยน)ถิ่นเดิมอยู่แถบมณฑลยูนนาน ฮุนหนำ กวางสี กวางเจา และทางตะวันออกของประเทศจีน ตั้งบ้านเรือนอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 1,000 เมตร วัฒนธรรมของเมี่ยนจึงได้รับอิทธิพลจากจีน เช่น ภาษา การสืบสกุลทางฝ่ายสามี การใช้แซ่ ประเพณีปีใหม่ (ตรงกับเทศกาลตรุษจีน) สาวเมี่ยนมีฝีมือในการปักผ้า ปัจจุบันมีเมี่ยนอยู่มากที่สุดที่อำเภอเมือง
มลาบรี (ผีตองเหลือง)สันนิษฐานว่าเป็นเผ่าผสมชนชาติละว้าที่หนีร่นกลุ่มชนไทไปอยู่ตามป่าเขา ในแขวงไชยบุรี สปป.ลาว เมื่อประมาณ 800 กว่าปีมาแล้ว เดิมดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์ไม่ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง สร้างเพียงเพิงมุงใบตอง และจะย้ายถิ่นเมื่อใบตองเริ่มแห้งคือเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ปัจจุบัน มลาบรีตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอเวียงสา วัฒนธรรมถูกกลืนกลายไปหมดแล้ว
 
 
สถานที่ท่องเที่ยว
อำเภอเมือง
 
          เมืองน่านในอดีตเป็นนครรัฐขนาดเล็กริมแม่น้ำน่าน ในความเป็นเมืองเล็กงดงามด้วยสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนา ยังสะท้อนให้เห็นการผสมผสานทางศิลปวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ทั้งด้านการเมือง การปกครอง ศาสนา รวมทั้งวิทยาการด้านต่างๆ กับกรุงสุโขทัยล้านนา พุกาม และล้านช้าง โดยยังคงเอกลักษณ์ของความเป็นพื้นถิ่นน่านไว้ได้อย่างสง่างาม
          วิถีชีวิตของคนเมืองน่านยังดำเนินอยู่บนครรลองของพระพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้จากงานบุญประเพณีรวมทั้งพิธีกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นตลอดปี ในตัวเมืองน่านไม่มีอาคารสูง ไม่มีแหล่งอบายมุขหรือย่านธุรกิจที่อึกทึกจอแจเช่นจังหวัดอื่น
 
วัดพญาวัดตั้งอยู่ที่บ้านพญาวัด ตำบลดู่ใต้ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 101 ก่อนข้ามสะพานเข้าเมืองน่าน มีทางแยกซ้ายมือเข้าทางหลวงหมายเลข 1025 เข้าไปประมาณ 300 เมตร   
แต่เดิมบริเวณที่ตั้งวัดเป็นเขตศูนย์กลางเมืองน่านในสมัยที่ย้ายเมืองจากพระบรมธาตุแช่แห้งมาตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน สถูปเจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงในสมัยพระนางจามเทวี มีลักษณะคล้ายเจดีย์กู่กุด จังหวัดลำพูน เป็นทรงซุ้มสี่เหลี่ยมซ้อนกัน 5 ชั้น แต่ละชั้นประดิษฐานพระพุทธรูปยืนซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยดังพบที่สถูปเจดีย์วัดมหาธาตุจังหวัดสุโขทัย ยอดซุ้มก่ออิฐวงโค้งเป็นรูปแบบการก่อสร้างสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่แสดงให้เห็นว่ามีการบูรณะในสมัยนั้น ซึ่งเป็นสมัยที่อิทธิพลของศิลปะเชียงใหม่ได้เข้ามาแทนที่ศิลปะสุโขทัยแล้ว
ในพระอุโบสถประดิษฐานพระเจ้าฝนแสนห่า” ซึ่งชาวเมืองน่านเคยนำมาแห่ขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล นอกจากนั้นยังมีธรรมาสน์แกะสลัก ฝีมือช่างพื้นเมืองน่านที่เก่าที่สุดเท่าที่เคยพบ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยเจ้าอัตถวรปัญโญ ราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 24
         
 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน อยู่ที่ถนนผากอง ตรงข้ามกับวัดพระธาตุช้างค้ำ ใกล้กับวัดภูมินทร์ เป็นอาคารแบบยุโรปซึ่งเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 5 ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองน่าน เดิมเป็น “หอคำ” ซึ่งเป็นที่ประทับและที่ว่าราชการของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2475 ใช้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดแห่งแรกของจังหวัดน่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 อาคารแห่งนี้ได้รับการปรับปรุงอีกครั้งให้เป็นสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
ลักษณะการจัดพิพิธภัณฑ์ที่นี่จะใช้แสงธรรมชาติเข้าช่วย ตัวอาคารโปร่งมีหน้าต่างโดยรอบ ผู้มาเที่ยวจะรู้สึกเหมือนเดินอยู่ในบ้านมากกว่าพิพิธภัณฑ์ ทำให้เพลิดเพลินในการเดินชมสิ่งของที่จัดแสดงพิพิธภัณฑ์นี้จึงมีผู้มาแวะชมตลอดทั้งคนท้องถิ่นและคนต่างถิ่น
ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างจัดแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าต่างๆ ในจังหวัดน่าน รวมทั้งเทศกาลงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัด เช่นการสืบชะตา การแข่งเรือ ส่วนชั้นบนจัดแสดงโบราณวัตถุสมัยต่างๆ ที่พบในจังหวัดน่าน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงยุคเจ้าผู้ครองนครน่าน ชิ้นที่สำคัญ ได้แก่ งาช้างดำ วัตถุมงคลคู่บ้านคู่เมืองน่าน เป็นงาช้างข้างซ้าย ยาว 94 เซนติเมตร วัดโดยรอบส่วนที่ใหญ่สุดได้ 47 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 18 กิโลกรัม ได้มาในสมัยพระยาการเมืองเจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 5 เครื่องปั้นดินเผาเคลือบ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 จากเตาเผาบ่อสวก ตำบลสวก อำเภอเมือง น่าน พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา อิทธิพลศิลปะพม่า พุทธศตวรรษที่ 25 พานพระศรีเครื่องเงินลงยา ซึ่งเป็นเครื่องประกอบอิสริยยศของเจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย
 
พิพิธภัณฑ์เปิดทุกวันระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.

 

 
 วัดภูมินทร์เป็นวัดหลวง ตั้งอยู่ในเขตพระนครดังปรากฏชื่อตำบลในเวียงในปัจจุบัน อยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่าน ตามพงศาวดารของเมืองน่านพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์เจ้าผู้ครองนครน่านได้สร้างวัดภูมินทร์ขึ้นหลังจากที่ครองนครน่านได้ 6 ปี เมื่อ พ.ศ.2139 มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ“วัดพรหมมินทร์”แต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์
จุดเด่นของวัดนี้คือเป็นวัดที่สร้างทรงจตุรมุขหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ดูคล้ายตั้งอยู่บนหลังพญานาค 2 ตัว อาคารนี้เป็นทั้งพระอุโบสถ พระวิหารและพระเจดีย์ประธาน โดยใช้อาคารในแนวตะวันออก-ตะวันตกเป็นพระวิหาร และอาคารแนวเหนือ-ใต้ เป็นพระอุโบสถ รัฐบาลไทยเคยพิมพ์รูปวัดภูมินทร์ในธนบัตรใบละ 1 บาท ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ ได้จำลองพระวิหารหลังนี้ไว้ด้วย
สามร้อยปีต่อมา วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อมนานถึง 7 ปี จิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ ฮูบแต้ม” ในวัดภูมินทร์เป็นชาดกในพุทธศาสนาแต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพเช่น ภาพธรรมเนียมการอยู่ข่วง  ของชาวไทลื้อ พ่อแม่ จะอนุญาตให้หนุ่มสาวพบปะกันที่ชานบ้านในเวลาค่ำ ขณะหญิงสาวกำลังปั่นฝ้าย หรือ “อยู่ข่วง” หากสาวเจ้าตกลงปลงใจด้วยก็จะจัดพิธีแต่งงาน หรือที่เรียกว่า “เอาคำ ไปป่องกั๋น” หรือเป็นทองแผ่นเดียวกัน การค้าขายแลกเปลี่ยนในชุมชน  ภาพชาวพื้นเมือง ซึ่งอาจเป็นชาวเขา “เป๊อะ” ของป่าบนศรีษะ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกับคนเมือง ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน  ภาพนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของวัดภูมินทร์ มีการใช้สีแดง ฟ้าดำ น้ำตาลเข้มเป็นปื้นใหญ่ๆคล้ายภาพสมัยใหม่ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองน่าน หญิงสาวกำลังทอผ้าด้วยกี่พื้นเมือง นอกชานมีเรือนเล็กๆ ตั้งหม้อน้ำดินเผาที่เรียกว่า “ร้านน้ำ” ส่วนชายหนุ่มไว้ผมทรงหลักแจวหรือทรงมหาดไทย แสดงให้เห็นอิทธิพลตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานในวิถีพื้นเมืองน่าน ภาพชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาเมืองน่านช่วงรัชกาลที่ 5 ทรงผม และเครื่องแต่งกายของผู้หญิงเป็นรูปแบบเดียวกับที่กำลังเป็นที่นิยมในยุโรปขณะนั้น
 
 
วัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนสุริยพงศ์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2400 ลักษณะเด่นคือ ลายปูนปั้นที่ผนังด้านนอกของพระอุโบสถ เป็นฝีมือตระกูลช่างเชียงแสน มีความวิจิตรงดงามมาก ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเมืองน่าน ฝีมือช่างท้องถิ่นยุคปัจจุบัน และในบริเวณวัดยังเป็นที่ประดิษฐาน เสาหลักเมือง ซึ่งยู่ในศาลาจตุรมุขด้านหน้าพระอุโบสถ เสาหลักเมืองสูงประมาณ 3 เมตร ฐานประดับด้วยไม้แกะลวดลายลงรักปิดทอง ยอดเสาแกะสลักเป็นรูปพรหมพักตร์มีชื่อ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
 
 วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่บนเนินทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน บริเวณที่เป็นศูนย์กลางเมืองน่านเดิม หลังจากที่ย้ายมาจากเมืองปัว วัดพระบรมธาตุแช่แห้งสร้างในสมัยเจ้าพระยาการเมือง (เจ้าผู้ครองนครน่านระหว่าง พ.ศ.1869-1902) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์ พระพิมพ์เงินและพระพิมพ์ทอง ที่ได้รับพระราชทานจากพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งที่เจ้าพระยาการเมืองเสด็จไปช่วยสร้างวัดหลวงอภัย (วัดป่ามะม่วง จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 1897
 
องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ทรงระฆัง รูปแบบของพระธาตุแช่แห้งสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย โดยรอบองค์บุด้วยทองจังโก (ทองดอกบวบ ทองเหลืองผสมทองแดง) ทางขึ้นสู่องค์พระธาตุเป็นตัวพญานาค หน้าบันเหนือประตูทางเข้าพระวิหารเป็นปูนปั้นลายนาคเกี้ยว ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมเมืองน่าน
พระบรมธาตุแช่แห้งเป็นพระธาตุประจำปีกระต่าย ชาวล้านนาเชื่อว่า หากได้เดินทางไป ชุธาตุ” หรือนมัสการพระธาตุประจำปีเกิดจะได้รับอานิสงส์อย่างยิ่ง นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมวัดพระธาตุแช่แห้งได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00-18.00 น.
 
แหล่งเตาเผาและเครื่องเคลือบบ้านบ่อสวก บริเวณบ้านบ่อสวกนี้ในอดีตเคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองน่าน มีรูปแบบและกรรมวิธีการผลิตเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาเป็นลักษณะเฉพาะของตัวเอง คาดว่าเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาจากบ้านบ่อสวกคงจะเคยได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะได้ขุดพบตามแหล่งฝังศพของคนในสมัยก่อน โดยเฉพาะแถบเทือกเขาในเขตอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ต่อเนื่องไปจนถึงจังหวัดตาก และกำแพงเพชร
สันนิษฐานว่าการผลิตเครื่องเคลือบที่บ้านบ่อสวกเริ่มขึ้นและพัฒนาในสมัยเจ้าพระยาพลเทพฤาชัย (พ.ศ.2071-2102) ซึ่งเป็นยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองของเมืองน่าน วิทยาการเตาเผาและเครื่องเคลือบเมืองน่านได้รับจากล้านนา เช่น จากกลุ่มสันกำแพง กลุ่มกาหลง ซึ่งเป็นกลุ่มเตาใกล้นครเชียงใหม่
เตาเผาแห่งนี้ได้รับการสำรวจและศึกษาเบื้องต้น โดยกองโบราณคดีกรมศิลปากร มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นแหล่งโบราณคดีชุมชนอยู่ที่บ้านบ่อสวกพัฒนา หมู่ 10 ตำบลบ่อสวก ห่างจากตัวเมือง 17 กิโลเมตร แหล่งที่มีการค้นพบเตาเผาเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542 ตั้งอยู่ในเขตบ้านพักของ จ.ส.ต.มนัส และคุณสุนัน ติคำ บริเวณที่พบเตาอยู่ริมแม่น้ำ ลักษณะของเตาจะหันหน้าเข้าหาแม่น้ำเพื่อสะดวกในการขนส่ง ภายในเป็นโพรงใหญ่เพื่อให้คนเข้าไปข้างในได้ เตาจะมีความลาดเอียงและมีปล่องระบายอากาศอยู่ด้านบน เตาโบราณจำนวน 2 เตาได้รับการบูรณะ และก่อสร้างอาคารถาวรคลุม ส่วนบริเวณใต้ถุนบ้านจ่ามนัสจัดเป็นนิทรรศการและจัดแสดงโบราณวัตถุจากแหล่งเตาเผา
 
การขุดค้นศึกษาแหล่งเตาเมืองน่านบ้านบ่อสวก ถือเป็นการเปิดมิติใหม่ในการทำงานวิจัยทาง “โบราณคดีชุมชน” โดยการร่วมมือระหว่างชาวบ้าน องค์กรเอกชน ส่วนราชการในท้องถิ่น และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดความงอกงามทางความรู้และความเข้มแข็งของชุมชนไปพร้อมกัน
ในอนาคตจะมีการจัดตั้งกองทุนโบราณคดีชุมชนบ้านบ่อสวก และนำเงินจากกองทุนเพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน เช่น การฟื้นฟูอาชีพเครื่องปั้นดินเผา การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์หมู่บ้าน การอบรมมัคคุเทศก์ชุมชน
 
          วนอุทยานถ้ำผาตูบ อยู่ที่ตำบลผาสิงห์ ห่างจากตัวจังหวัด 12 กิโลเมตร บนเส้นทางหลวงหมายเลข 1080 น่าน-ปัว-ทุ่งช้าง ตรงหลักกิโลเมตรที่ 9-10 สามารถเข้าถึงได้ทุกฤดูกาล
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ มีพรรณไม้ที่ควรศึกษาและหาดูได้ยากเช่นต้นจันทร์ผาและเอื้องผึ้งซึ่งจะผลิดอกประมาณช่วงปลายฝน ทางเดินศึกษาธรรมชาติมีอยู่หลายเส้นทางด้วยกัน คือ จะเริ่มจากเส้นทางเดินเท้าถึงถ้ำบ่อน้ำทิพย์ เส้นทางจากหน้าที่ทำการฯถึงจุดชมวิว และเส้นทางเดินรอบที่ทำการ
 
สถานที่น่าสนใจในวนอุทยานถ้ำผาตูบ
 
ถ้ำพระ เป็นถ้ำใหญ่ ลานพื้นกว้าง เนื้อที่ราว 50 ตารางวา มีปล่องเพดานด้านหนึ่งซึ่งปล่อยให้ลมพัดเข้ามา และให้แสงสว่าง มีหินงอกหินย้อยงดงาม ห่างจากที่ทำการประมาณ 200 เมตร
ถ้ำบ่อน้ำทิพย์ภายในถ้ำเป็นห้องโถงกว้างประมาณ 30 ตารางวา มีปล่องเพดานให้แสงสว่างรอดเข้ามาได้ มีหินย้อยรอบผนังถ้ำด้านหนึ่ง มีซอกเว้าลึกเป็นโพรงมีแอ่งน้ำรูปไข่ป้อม มีน้ำขังตลอดปี ยึดถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นสัญลักษณ์ของถ้ำนี้
 ทางขึ้นถ้ำบ่อน้ำทิพย์ต้องปีนตามหน้าผาหินตลอด อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 1,200 เมตร ช่วงหน้าฝนมีน้ำในถ้ำ จะเข้าไม่ได้
ถ้ำขอน เป็นถ้ำที่มีรูปลักษณะยาวคล้ายกับท่อนซุง ด้านในมีหินงอกหินย้อยงดงาม และด้านหน้าบริเวณปากทางขึ้นถ้ำมีหน้าผาเหมาะสำหรับพักผ่อน และมองเห็นทิวทัศน์บริเวณหนองน่าน
ถ้ำเจดีย์แก้ว เป็นถ้ำขนาดเล็ก ด้านหน้าของถ้ำจะมีหินรูปร่างคล้ายเจดีย์ตั้งอยู่
 
จุดชมวิว ตั้งอยู่บนป่าซางติดกับเขาบ่อน้ำทิพย์ ทางด้านทิศใต้สามารถมองเห็นทิวทัศน์รอบๆ และสามารถมองเห็นอำเภอเมืองน่านได้ถนัด อยู่ห่างจากที่ทำการวนอุทยานฯประมาณ 1 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินไป-กลับประมาณ 2 ชั่วโมง
กิจกรรม ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 (เหนือ) ราษฎรชาวบ้านผาตูบจะมีการจัดงานประเพณีปิดทองพระเขาถ้ำพระเรียกงานนี้ว่า “งานถ้ำผาตูบ” ตอนเช้าจะมีการทำบุญตักบาตร กลางวนจะมีดนตรีและการแสดงของนักเรียนโรงเรียนบ้านผาตูบ มีการจัดงานขึ้นที่ถ้ำผาตูบเป็นประจำทุกปี
 
หมู่บ้านไทยลื้อหนองบัว อยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา จากตัวเมืองน่านใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1080 ระยะทาง 41 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอท่าวังผามีทางแยกซ้ายไปอีก 3 กิโลเมตร หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านที่มีฝีมือในการทอผ้าพื้นเมืองที่สวยงาม เรียกว่า “ผ้าลายน้ำไหล” ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่าน นับเป็นหัตถกรรมที่ตกทอดมาหลายยุคหลายสมัย
         
 ภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์เล่าเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดก ซึ่งเป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า สันนิษฐานว่าเขียนโดย “ทิดบัวผัน” ช่างเขียนลาวพวนที่บิดาของครูบาหลวงสุ ชื่อนายเทพ ซึ่งเป็นทหารของเจ้า อนันตยศ (เจ้าเมืองน่านระหว่างปี พ.ศ. 2395-2434) ได้นำมาจากเมืองพวน ในแคว้นหลวงพระบาง นอกจากนั้นยังมีนายเทพและพระแสนพิจิตรเป็นผู้ช่วยเขียนจนเสร็จ และยังมีภาพของเรือกลไฟ และดาบปลายปืนซึ่งเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 ภาพจิตรกรรมที่วัดหนองบัวแห่งนี้ได้สะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหลหรือผ้าซิ่นตีนจกที่สวยงาม นับว่ามีคุณค่าทางศิลปะและความสมบูรณ์ของภาพใกล้เคียงกับภาพจิตรกรรมฝาผนังของวัดภูมินทร์ในเมืองน่าน นอกจากภาพจิตรกรรมแล้วที่ฐานพระประธานยังประดิษฐานพระพุทธรูปล้านนาองค์เล็กอยู่หลายองค์ และยังมีบุษบกสมัยล้านนาอยู่ด้วย
 
    อุทยานแห่งชาติดอยภูคา(ป่าต้นน้ำ ป่าดึกดำบรรพ์ปลายทางหิมาลัย ขุนเขาใต้ทะเล) อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีพื้นที่ทั้งหมดถึง 1,065,000 ไร่ หรือ ประมาณ 1,680 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอ ได้แก่ ท่าวังผา ปัว เชียงกลาง ทุ่งช้าง บ่อเกลือ สันติสุข และแม่จริม เทือกเขาดอยภูคาประกอบด้วยแนวภูเขาสูงสลับซับซ้อน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของปลายเทือกเขาหิมาลัย โดยมียอดภูคาเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของจังหวัดน่าน สูงถึง 1,980 เมตร
     ดอยภูคาเป็นต้นแม่น้ำสำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำน่าน ลำน้ำปัว บริเวณนี้เดิมเคยเป็นทะเลมาก่อน ก่อนจะเกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินสองผืนใต้ทะเลเข้าหากัน ทำให้แผ่นดินโก่งตัวขึ้น น้ำทะเลใต้ดินระเหยไปเหลือเพียงสินแร่เกลือ ดังที่พบในเขตอำเภอบ่อเกลือ และการค้นพบสุสานหอยทะเลอายุประมาณ 200 ล้านปี บนดอยภูแวที่บ้านค้างฮ่อ ตำบลสะกาด อำเภอปัว มีลักษณะเป็นหอยแครงสองฝา ดร.จงพันธ์     จงลักษณ์มณี นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี สรุปว่า เป็นซากหอยที่มี ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า พาลีโอคาร์ดิต้า สปีชี่ (Paleocardita Species) อายุ 195-205 ล้านปี จัดว่าอยู่ในยุคไทรแอสซิก (Triassic) ตอนปลาย
ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ทุ่งหญ้า และ ป่าสนธรรมชาติ เป็นแหล่งของพันธุ์ไม้หายากใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ ชมพูภูคา (Bretschneidera sinesis Hemsl.) ในเขตป่าดิบเป็นแหล่งต้นเต่าร้างยักษ์ ปาล์มดึกดำบรรพ์ เมเปิ้ลใบ 5 แฉก ต่างจากเมเปิ้ลที่อื่นซึ่งมี 3 แฉก และยังเป็นแหล่งนกเฉพาะถิ่นที่หายากสองชนิด คือ นกมุ่นรกคอแดง และนกพงใหญ่พันธุ์อินเดีย
          ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว คือ ช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิ 15-27 องสาเซลเซียส และฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายนซึ่งมีอากาศเย็นสบาย
 
 
อำเภอบ่อเกลือ

 
 
          บ่อเกลือสินเธาว์พื้นที่บนยอดเขาสูงเสียดเมฆอย่างอำเภอบ่อเกลือ ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นแหล่งเกลือที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ เมืองน่านเป็นแหล่งเกลือขนาดใหญ่ ส่งเป็นสินค้าออกในภาคเหนือ และแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าที่ชุมชนผลิตไม่ได้ ผ่านกองคาราวานจีนฮ่อจากยูนาน กวางสี และมณฑลอื่นๆ ในจีน โดยใช้เส้นทางผ่านมาทางสิบสองปันนา รัฐฉาน สู่เชียงราย เชียงใหม่ น่าน เมืองสา (อำเภอเวียงสาในปัจจุบัน) และแพร่ รวมทั้งพ่อค้าไทเขินจากเชียงตุง และพ่อค้าวัวต่างชาวไทลื้อจากอำเภอท่าวังผา ในอดีตท้าวพญาในเค้าสนามหลวงได้รับส่วนแบ่งจากส่วยเกลือ นอกจากค่าธรรมเนียม และค่าปรับอื่นๆ พระยาติโลกราชแห่งเชียงใหม่ยกทัพมาตีน่านก็มุ่งหวังครอบครองบ่อเกลือซึ่งถือเป็นยุทธปัจจัยสำคัญสมัยนั้น
          บ่อเกลือสำคัญในน่านมี 2 แห่ง คือบริเวณต้นน้ำว้า ซึ่งมีบ่อเกลือใหญ่ 2 บ่อ อีกแห่งคือบริเวณต้นน้ำน่าน มีบ่อใหญ่ 5 บ่อและมีบ่อเล็กบ่อน้อยอีกจำนวนมาก ปัจจุบันชาวบ้านยังคงต้มแกลือด้วยวิธีแบบดั้งเดิม จะตักน้ำเกลือจากบ่อส่งผ่านมาตามลำไม้ไผ่สู่บ่อพัก ก่อนจะนำน้ำเกลือมาต้มในกะทะใบบัวขนาดใหญ่เคี่ยวจนน้ำงวดแห้ง ใส่ถุงวางขายกันหน้าบ้าน เกลือเมืองน่านไม่มีไอโอดีนเหมือนเกลือทะเลจึงต้องมีการเติมสารไอโอดีนก่อนถึงมือผู้บริโภค
บ่อเกลือสินเธาว์อยู่ห่างจากตัวเมืองน่าน 80 กิโลเมตร ชาวอำเภอบ่อเกลือนอกจากจะมีอาชีพทำนาทำไร่แล้วยังมีอาชีพทำเกลือสินเธาว์อีกด้วยโดยมีแหล่งเกลือสินเธาว์อยู่บนภูเขา (บ่อเกลือจะปิดช่วงเข้าพรรษาเพราะเป็นช่วงฤดูฝน)
หลากหลายกิจกรรมสัมผัสธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติแม่จริม
 
ล่องแก่งลำน้ำว้า(ตอนล่าง) ประสบการณ์กลางสายน้ำเชี่ยว เส้นทางล่องแก่งลำน้ำว้าเดิมเป็นเส้นทางล่องไม้สัก ที่ถูกลักลอบตัดจากผืนป่าในเขตอำเภอแม่จริมและอำเภอเวียงสา ตลอดลำน้ำว้าไหลผ่านหุบเขา สองฝั่งเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนผ่านแก่งต่างๆ กว่า 22 แก่ง ซึ่งมีระดับความยากง่ายอยู่ที่ระดับ 3-5 (ระดับ 3 เป็นระดับปานกลาง ระดับ 4 เป็นระดับยาก ระดับ 5 เป็นระดับยากมาก) แก่งที่ใหญ่ที่สุดและยากที่สุด คือแก่งหลวง บางจุดของลำน้ำเป็นหาดทรายที่สามารถจอดแพเพื่อให้ลงเล่นน้ำ บางแห่งเป็นจุดปางช้างสำหรับขึ้นช้างต่อไปที่บ้านหาดไร่ ช่วงเวลาที่ปริมาณน้ำขึ้นสูงสุดคือเดือนสิงหาคม และช่วงที่ปริมาณน้ำน้อยที่สุดคือเดือนเมษายน ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการล่องแก่งน้ำว้า คือระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม
          เส้นทางล่องน้ำว้ามี 2 เส้นทาง คือ
          -เส้นทางล่องเรือยาง เริ่มจากบ้านน้ำปุ๊ ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม สิ้นสุดที่บ้านหาดไร่ ตำบลส้านนาหนอง อำเภอเวียงสา รวมระยะทาง 19.2 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง หากเริ่มลงแพที่หน้าที่ทำการอุทยานฯ จะเหลือระยะทาง 15 กิโลเมตร
- เส้นทางล่องแพไม้ไผ่ เริ่มจากบ้านน้ำว้าขึ้นที่บ้านน้ำปุ๊ระยะทาง 4 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง
 
 
อาหารพื้นบ้าน-ผลไม้พื้นเมือง
 
หาชิมได้ไม่ยาก และราคาย่อมเยา ที่กาดเช้า” หรือตลาดเช้า ที่ตลาดสดเทศบาลเมืองหรือตลาดก่อนถึงทางขึ้นพระธาตุเขาน้อย และที่กาดแลง” หรือตลาดเย็น (เริ่มประมาณบ่ายสามโมง) หน้าโรงแรมเทวราช อาหารท้องถิ่นเมืองน่านอุดมด้วยเครื่องสมุนไพร ผักพื้นบ้านเครื่องเทศ โดยเฉพาะมะแข่น ซึ่งเป็นส่วนประกอบของอาหารหลายชนิด เช่น ยำลาบ ยำชิ้นไก่ แกงขนุน แกงผักกาด รับประทานกับข้าวนึ่งร้อนๆ อาหารพื้นบ้านเมืองน่านหลายชนิด คล้ายกับอาหารล้านนาทั่วไป อย่างไส้อั่ว น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล แต่บางชนิดเป็นอาหารเฉพาะถิ่น และมีให้รับประทานในบางฤดูกาลเท่านั้น
ไค (อ่านว่า “ไก”) ไค เป็นพืชน้ำ มีเส้นสีเขียวยาวเหมือนเส้นผม งอกตามหินผาใต้ลำน้ำโขงมีขนาดใหญ่และยาวกว่า “เทา” (อ่านว่า “เตา”) ซึ่งเป็นพืชประเภทเดียวกันที่ขึ้นตามห้วย หนอง คลอง บึง หรือนาข้าว แต่คนเมืองน่านเรียกสาหร่ายจากแม่น้ำว่า “ไค” และเตา” ส่วนใหญ่มาจากแม่น้ำน่าน นอกจากนั้นยังมีจากแม่น้ำว้า ถือเป็นดัชนีบ่งชี้ความสะอาดของน้ำได้เป็นอย่างดี หารับประทานได้ช่วงฤดูหนาว ไคนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง อาทิ แกงไค ห่อนึ่งไค ไคพรุ่ย
 
 - แกงไค (อ่านว่า “แก๋งไก”) มีทั้งแกงไคแบบไม่ใส่เนื้อและใส่เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อควาย หรือเนื้อปลาดุก ปลาช่อน หากเป็นแกงไคใส่เนื้อนอกจากพริกแกงที่ประกอบด้วยพริกสด กระเทียม หอม ปลาร้าหรือกะปิแล้ว จะใส่เถาสะค้าน (เป็นไม้เถา ใช้ทำยาได้ เรียกว่า ตะค้านก็ได้) ข่าอ่อน และใบมะกรูด
- ห่อนึ่งไค คล้ายห่อหมกในภาคกลางเพียงแต่ไม่ใส่กะทิ มีทั้งห่อนึ่งไคไม่ใส่เนื้อ โดยนำไคมาผสมกับเครื่องแกงซึ่งประกอบด้วยพริกแห้ง หอม กระเทียม กะปิ หรือปลาร้า ใบมะกรูด นำไปห่อใบตองแล้วนึ่ง ถ้าเป็นห่อนึ่งไคใส่เนื้อ จะโรยหน้าด้วยเถาสะค้านหั่นเป็นแว่น ใบมะกรูด และพริกขี้หนู
- ไคพรุ่ย (อ่านว่า “ไกพุ่ย”)นำไคแห้งมาปิ้งถ่านไฟให้สุกออกเหลือง แล้วฉีกเป็นฝอยละเอียด นำไปผัดกับกระเทียมเจียวใส่เกลือป่นโรยให้ทั่ว
 
น้ำปู หรือที่ทางเหนือเรียก “น้ำปู๋” ทำจากปูนาโขลกผสมกับตะไคร้ ขมิ้น แล้วกรองแต่น้ำจากนั้นนำไปเคี่ยวไฟอ่อนๆ พร้อมตะไคร้ ขมิ้น พริกป่น เกลือ และน้ำมะนาวจนกว่าน้ำจะงวดข้น น้ำปูใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงหน่อไม้ ยำหน่อไม้ น้ำพริกปู
 
แกงส้มเมือง ต่างจากแกงส้มภาคกลางที่ใส่น้ำมะขามเปียก แกงส้มเมืองน่านมีสีเหลืองจากน้ำขมิ้น หอมเครื่องแกงที่ประกอบด้วยตะไคร้ ขมิ้น พริกชี้ฟ้า หรือพริกขี้หนูสด หอมแดง กะปิ ที่โขลกเคล้าด้วยกัน ใส่มะเขือเทศ ผักบุ้ง ตำลึง ผักกูดก่อนเนื้อปลาสุกใส่ใบแมงลักให้หอม เติมมะนาว ใส่ใบส้มป่อยด้วยก็ได้
 
ส้มสีทอง เริ่มมีการปลูกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 หมื่นระกำ ผู้คุมเรือนจำจังหวัดน่านเป็นผู้นำมาปลูกครั้งแรก ส้มสีทองให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมากในช่วงกลางเดือนธันวาคม หรือต้นเดือนมกราคม
 
 องุ่นดำน่านฟ้า ได้รับชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯ เป็นองุ่นพันธุ์ดีจากไต้หวัน
               
มะไฟจีน แหล่งเดิมอยู่ที่ประเทศจีนเชื่อว่าชาวจีนเป็นผู้นำมาปลูกในจังหวัดน่านเมื่อประมาณ 80 ปีมาแล้ว เป็นผลไม้ที่มีอยู่ที่จังหวัดน่านเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย มีสรรพคุณเป็นยา คือช่วยระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจโล่งจมูก ชุ่มคอ รับประทานสดตอนที่ผลแก่จัดมีรสหวาน หรือตากแห้งแล้วแช่อิ่ม
 
 
 
 
 
 
เทวี
ในโรงแรมเทวราช 466 ถนนสุมนเทวราช โทร. 710212, 710078, 710094
พวงชมพูคอฟฟีช๊อฟ
โรงแรมซิตี้ปาร์ค ตำบลดู่ใต้ ถนนยันตรกิจโกศล โทร. 710076, 751343-5
พิณผับ
ในโรงแรมน่านฟ้า 438440 ถนนสุมนเทวราช โทร. 771697
เรือนแก้ว
1/1 ถนนสุมนเทวราช โทร. 710631
รวยรื่น
855/1 ถนนมหาพรหม
ละอองแก้ว
33/7 ถนนเปรมประชาราษฎร์
วิไลการ์เด้น
312 ถนนเปรมประชาราษฏร์ (สายน่าน-ทุ่งวังผา) โทร. 771311, 710089
ศาลาอีสานคลาสสิค
37/5 ถนนเจ้าหลวง โทร. 710928
สุริยาการ์เด้น
9 ถนนสุมนเทวราช โทร. 710687, 772980
เลิศรส
349/11 ถนนสุมนเทวราช ตรงข้ามธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ
สองเถาโภชนา
75/15 ถนนอันตวรฤทธิเดช
สวนอีสาน
2/1 ถนนมหายศ โทร. 710761, 772913
สวนอาหารริมน่าน
เชิงสะพานพัฒนาภาคเหนือ ถนนมโน ข้างสำนักงานป่าไม้จังหวัด ริมแม่น้ำน่าน
สุรัตน์
หลัง สวท. น่าน ถนนมโน
 
 
 
 
เทศกาลและงานประเพณี
 
งานประเพณีไหว้พระธาตุ เมืองน่านเป็นเมืองหนึ่งในดินแดนล้านนาที่พระพุทธศาสนาเผยแผ่มาถึงเป็นเวลาช้านาน ในเขตเมืองเก่า ทั้งในตัวเมืองน่านและที่อำเภอปัว จะมีพระธาตุตั้งอยู่บนเนินเขาเด่นเป็นสง่าในรอบปีมีงานประเพณีบูชาพระธาตุสำคัญ ได้แก่
          งานนมัสการพระธาตุเบ็งสกัด ในวันขึ้น 15ค่ำ เดือน 4 เหนือ (ประมาณเดือนมกราคม)
          งานประเพณี หกเป็งหว้สามหาธาตุแช่แห้ง ในวันเพ็ญเดือน 6 เหนือ ตรงกับวันเพ็ญเดือน 4 ภาคกลาง ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม) มีการจุดบ้องไฟถวายเป็นพุทธบูชา
          งานประเพณีนมัสการพระธาตุเขาน้อย ในวันเพ็ญเดือน 8 เหนือ (ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ภาคกลาง ประมาณเดือน พฤษภาคม) มีงานนมัสการพระธาตุเขาน้อย และมีการจุดบ้องไฟถวายเป็นพุทธบูชา
          งานประเพณีนมัสการสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ วัดสวนตาลช่วงเทศกาลสงกรานต์ 12-15 เมษายน
 
          งานตานก๋วยสลาก งานแห่คัวตานหรือครัวทาน ทานสลาก หรือก๋วยสลากเป็นประเพณีเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล สำหรับชาวเหนือถือว่าเป็นประเพณีทำบุญกลางบ้านที่ยิ่งใหญ่และสำคัญเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นพระภิกษุจะรับนิมนต์เพื่อมารับการถวายทานโดยการจับสลาก
 
พิธีสืบชะตา เป็นประเพณีโบราณ มักทำในโอกาสต่างๆ เช่นวันเกิดอายุครบรอบ ฟื้นจากการเจ็บป่วย การสืบชะตาถือเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ และเป็นสิริมงคล ขับไล่สิ่งเลวร้ายให้ผ่านพ้นไป ต่อมามีการประยุกต์พิธีสืบชะตากับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
 
 
ดนตรีพื้นบ้าน ปิน สะล้อ ซอน่าน พ่อครูไชยลังกา เครือเสน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) คือผู้เชี่ยวชาญปิน (ซึง) และสะล้อและยังสามารถประดิษฐ์เครื่องดนตรี คำร้อง ทำนองเพลงซอปั่นฝ้าย ศิลปินแห่งชาติอีกท่านหนึ่งคือ พ่อครูคำผายนุปิง ผู้ขับ “ซอล่องน่าน” ที่เล่าถึงตำนานการสร้างบ้านแปงเมืองน่าน ตามเรื่องเล่าขานกันมาช้านานว่า ครั้งเมื่อพระยาการเมืองอพยพย้ายเมืองจากวรนคร อำเภอปัว มาสร้างเมืองใหม่ที่ภูเพียงแช่แห้งนั้น ขบวนเสด็จแห่แหนใหญ่โตมาตามลำน้ำน่าน ผู้ติดตาม คือ ปู่คำมาและย่าคำปี้ ขับร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี คลอปินและสะล้อเพื่อไม่ให้การเดินทางน่าเบื่อ
         
งานแข่งเรือประเพณีฉลองงาช้างดำจังหวัดน่าน ประเพณีแข่งเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานจัดในหน้าน้ำ ต่อมาในปี พ.ศ. 2479 ได้จัดให้มีการแข่งเรือในงานทอดกฐินสามัคคีสืบทอดมาจนถึงงานทอดกฐินพระราชทานในปัจจุบัน ราวกลางเดือนตุลาคม หรือ ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยถือเอาวันเปิดสนามแข่งเรือตามวันถวายสลากภัตของวัดช้างค้ำวรวิหารซึ่งเป็นวัดหลวง และจะจัดงานถวายสลากภัตก่อนวันอื่น งานแข่งเรือประเพณีขิงจังหวัดน่านจึงเป็นประเพณีคู่กับตานก๋วยสลากของวัดช้างค้ำมาจนทุกวันนี้ ภายหลังทางจังหวัดได้ผนวกงานสมโภชงาช้างดำอันเป็นสมบัติล้ำค่าคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดน่านเข้าไปด้วย นอกจากนั้นยังมีงานแข่งเรือที่อำเภอเวียงสาในเทศกาลตานก๋วยสลาก
เรือที่เข้าแข่งแต่ละลำใช้ไม้ซุงใหญ่ๆ เอามาขุดเป็นเรือ เอกลักษณ์โดดเด่นของเรือแข่งเมืองน่าน คือ ที่หัวเรือแกะเป็นรูปพญานาค ชูคอสง่างาม หางเรือเป็นหางพญานาคงอนสูง ด้วยคนเมืองน่านเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนคือ เจ้าขุนนุ่น ขุนฟอง เกิดจากไข่พญานาคเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ การต่อเรือแข่งเป็นรูป พญานาคจึงถือเป็นการบูชาบุญคุณพญานาคผู้เป็นเจ้าแห่งน้ำและบรรพบุรุษของชาวเมืองน่าน
ประเภทการแข่งขัน มีทั้งเรือใหญ่ เรือกลาง และเรือเล็ก รวมทั้งประเภทสวยงาม    นอกจากนี้ยังมีการประกวดกองเชียร์อีกด้วย และหากมาในช่วงฤดูซ้อมก่อนมีการแข่งขัน ช่วงเย็นๆ จะเห็นชาวบ้าน นักเรียนจับกันเป็นกลุ่มอยู่ริมน้ำเพื่อดูการซ้อมเรือ เชียร์ทีมเรือและฝีพายที่เป็นคนท้องถิ่น เป็นวิถีชีวิตที่มีสีสัน และ เป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ นับเป็นประเพณีที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
 
งานเทศกาลส้มสีทองและงานกาชาดจังหวัดน่าน         จัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี บางปีอาจจัดร่วมกับเทศกาลของดีเมืองน่าน ส้มสีทองเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่าน พันธุ์เดียวกับส้มเขียวหวาน   แต่ส้มสีทองจะมีเปลือกสีเหลืองทองสวยงาม และรสชาติหวานหอมอร่อยกว่า เป็นเพราะอิทธิพลของดินฟ้าอากาศคืออุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนต่างกัน 8 องศา    เป็นเหตุให้สาร “คาร์ทีนอยพิคเมนท์”   ในเปลือกส้มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีทองดังกล่าว   
กิจกรรมในงานที่น่าสนใจมีหลายอย่าง ได้แก่ การประกวดขบวนรถส้มสีทอง การออกร้านนิทรรศการ การจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมจากอำเภอต่างๆ และจากเมืองฮ่อน-หงสา สปป.ลาว การแสดงพื้นเมืองและมหรสพต่างๆ อีกมากมาย
 
ปฏิทินท่องเที่ยว
กุมภาพันธ์ - มีนาคม                         เทศกาลผ่อดอกชมพูภูคา อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
วันมาฆะบูชา                                     ประเพณีขึ้นบ่อน้ำทิพย์ วนอุทยานถ้ำผาตูบ
ขึ้น11-15ค่ำ เดือน 4                          งานประเพณีหกเป็งไหว้พระบรมธาตุแช่แห้ง
13 เมษายน                                       งานประเพณีสงกรานต์และสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์วัดสวนตาล
 
17-19 เมษายน                                 งานสักการะเสาหลักเมืองวัดมิ่งเมือง
วันวิสาขบูชา                                     งานประเพณีนมัสการพระธาตุเขาน้อย
อาสาฬหบูชา                                     งานแห่เทียนเข้าพรรษา วัดสวนตาล
เสาร์-อาทิตย์ที่ 2 หลังออกพรรษา      งานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน บริเวณสะพาณพัฒนาภาคเหนือ
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12                           งานประเพณีลอยกระทง อำเภอเมือง
สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนธันวาคม          เทศกาลส้มสีทองและงานกาชาดจังหวัดน่าน ณ สนามกีฬาจังหวัดน่าน อำเภอเมือง                                       
หมายเหตุ กรุณาตรวจสอบวันงานที่แน่นอนก่อนเดินทางอีกครั้ง
 
 
สินค้าพื้นเมือง
         
จังหวัดน่านมีสินค้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงอยู่หลายอย่างเช่น ผ้าลายน้ำไหล (ผ้าฝ้าย) ผลิตภัณฑ์หวาย เครื่องเงิน หัตถกรรมชาวเขา     ส่วนผลไม้ที่มีชื่อของจังหวัด ได้แก่ ส้มสีทอง มะไฟจีน ลิ้นจี่ และหมากต๋าว   (เป็นลูกไม้ชนิดหนึ่งที่ต้องต้มเอาเนื้อข้างในออกมาเชื่อม   เป็นเหมือนลูกชิดใส่น้ำแข็งรับประทาน)
 
 
 
ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาติดต่อสอบถามรายละเอียดก่อนล่วงหน้า
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ทัวร์แพ็คเก็จภาคเหนือ ( Package Tours Northern )
เชียงใหม่-เชียงราย-ลำพูน-ลำปาง-ปาย-แม่ฮ่องสอน
 
มหัศจรรย์ ปาย-แม่ฮ่องสอน 3 วัน 2 คืน
ทัวร์อิ่มบุญ 3 วัน 2 คืน
สุขกาย สบายใจ เชียงใหม่-เชียงราย 3 วัน 2 คืน
ทัวร์เชียงใหม่สุขสันต์ 3 วัน 2 คืน
ทัวร์หฤหรรษ์เชียงใหม่ เชียงราย 3 วัน 2 คืน
 ทัวร์ครบรส เชียงใหม่ เชียงราย 4 วัน 3 คืน
ทัวร์ช้าง - ยอดดอยเชียงใหม่ 3 วัน 2 คืน
ทัวร์หรรษา เชียงใหม่-เชียงราย 3 วัน 2 คืน
 
 
Executive - VIP Tours
Executive - VIP Tour Packages
 
ทัวร์ 1 วัน เช้า-เย็น เขียงใหม่-เชียงราย
 
 เชียงใหม่ซาฟารีทัวร์ 1 วัน
มหัศจรรย์ถ้ำเชียงดาว ชนสามเผ่าคอยาว
สามเหลี่ยมทองคำเชียงราย
ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุผผาชาติล้วนงามตา งามล้ำค่านครพิงค์
สูงสุดในสยาม ดอยอินทนนท์ 1วัน
เดินป่า ขี่ช้างล่องแพ 1 วัน
 
 
ทัวร์ธรรมชาติศึกษา เดินป่า ขี่ช้าง ล่องแพ
 
ทัวร์ เดินป่า ขี่ช้าง ล่องแพ 1 วัน
ทัวร์ เดินป่า ขี่ช้าง ล่องแพ 2 วัน 1 คืน
ทัวร์ เดินป่า ขี่ช้างล่องแพ 3 วัน 2 คืน
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวภาคเหนือ
 
ข้อมูลท่องเที่ยวเชียงใหม่
ข้อมูลท่องเที่ยวเชียงราย
ข้อมูลท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน
ข้อมูลท่องเที่ยวลำปาง
ข้อมูลท่องเที่ยวลำพูน
ข้อมูลท่องเที่ยวน่าน
ข้อมูลท่องเที่ยวแพร่
ข้อมูลท่องเที่ยวพะเยา
 
จัดทำ โปรแกรม Package Tours ต่าง ๆ ทั่วภาคเหนือ เชียงใหม่ – เชียงราย – ลำพูน-ลำปาง-แม่ฮ่องสอน-ปาย  ทัวร์หมู่คณะสร้างสัมพันธ์ระหว่างการท่องเที่ยว,ทัวร์ครอบครัว,ฮันนีมูน,แต่งงาน ในบรรยากาศแบบที่ท่านต้องการ ตั้งแต่ระดับธรรมดา-VIP ท่านสามารถเลือกโปรแกรมท่องเที่ยวได้ตรงกับความต้องการหรือแล้วแต่งบประมาณของท่านด้วยดีไซน์ไม่จำกัด   ที่สร้างสรรค์ทัวร์ขึ้นมาพิเศษที่เหมาะกับท่าน จากทีมงานมืออาชีพ รวมถึงรับจองโรงแรมทุกระดับทั่วภาคเหนือ และมีบริการเช่ารถตู้ทุกประเภท

 

 

 

 บริษัททัวร์จัดนำเที่ยวทั่วภาคเหนือ

 

 

 

 
 
 



ข้อมูลท่องเที่ยวภาคเหนือ

ข้อมูลท่องเที่ยวเชียงใหม่
ข้อมูลท่องเที่ยวเชียงราย
ข้อมูลท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน
ข้อมูลท่องเที่ยวลำปาง
ข้อมูลท่องเที่ยวลำพูน
ข้อมูลท่องเที่ยวแพร่
ข้อมูลท่องเที่ยวพะเยา



Copyright © 2000 All Rights Reserved By Konthaitour / The Luxury Tour Operator Specialty base in Chiang Mai, Thailand. มากกว่าคำว่าทัวร์ ใส่ใจทุกรายละเอียด เรียกหาคนไทยทัวร์

           ช่องทางการติดต่อ คนไทยทัวร์ 

   Konthaitour VDO  

 

บริษัททัวร์นำเที่ยวเชียงใหม่ ,แพ็คเกจทัวร์เชียงใหม่ ,ทัวร์เชียงใหม่,เที่ยวเชียงใหม่ ,ท่องเที่ยวเชียงใหม่, ,ทัวร์เหนือ ,tour operator chiangmai,tour chiang mai ,tour package chiangmai,northern tours,chiangmai-chiangrai-travel,ทัวร์เหนือ,chiangmai,tour company chiangmai ,ข้อมูลการท่องเที่ยวเชียงใหม่,Chiang mai , Chiangmai Travel Center, Tour Operator chiang mai thailand , chiang mai tours ,travel chiang mai ,tour chiang mai , chiangmai travel, Luxury-executive-VIP Tours ,family tours, honeymoon tours, Sightseeing ,tour package , chiang mai hotel, Travel Chiang maiทัวร์เชียงใหม่ ,เที่ยวเชียงใหม่ ,chiang mai mice ,chiang mai organize,บริษัททัวร์เชียงใหม่,บริษัททัวร์ ,เชียงใหม่,บริษัททัวร์นำเที่ยวเชียงใหม่,ทัวร์เชียงใหม่,เที่ยวเชียงใหม่ ,ท่องเที่ยวเชียงใหม่, ,ทัวร์เหนือ,โรงแรมเชียงใหม่,กรุ๊ปทัวร์ ทัวร์หมู่คณะ ทัวร์เหมาเชียงใหม่,จังหวัดเชียงใหม่,เชียงใหม่,สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว เชียงใหม่,บริษัททัวร์นำเที่ยวเชียงใหม่,ทัวร์เชียงใหม่,เที่ยวเชียงใหม่ ,ท่องเที่ยวเชียงใหม่, ,ทัวร์เหนือ,โรงแรมเชียงใหม่,กรุ๊ปทัวร์ ทัวร์หมู่คณะ ทัวร์เหมาเชียงใหม่ , chiang mai , Chiangmai Travel Center, Tour Operator chiang mai thailand , chiang mai tours ,travel chiang mai ,tour chiang mai , chiangmai travel, chiang mai activities,hotel chiang mai ,chiang mai hotel, honeymoon tours, Sightseeing ,tour package,#บริษัททัวร์เชียงใหม่ #บริษัทนำเที่ยวชียงใหม่ #บริษัทนำเที่ยว #ทัวร์เชียงใหม่ #เที่ยวเชียงใหม่ #แพ็กเก็จนำเที่ยวเหนือ #แพ็กเก็จนำเที่ยวเชียงใหม่ #โปรแกรมทัวร์เชียงใหม่ #ทัวร์ครอบครัวเชียงใหม่ #สันทนาการเชียงใหม่ #teambuildingchiangmai #chiangmaiteambuilding #micechiangmai #chiangmaimice #บริษัททัวร์ #คนไทยทัวร์ #เชียงใหม่ ,#chiangmaitravel #touroperatorchiangmai #chiangmai #chiangmaithailand #thailandchiangmai #travelagentchiangmai #travelagencychiangmai@konthaitour #konthaitour #holidaychiangmai #vacationchiangmai #asiatravel #tourguidechiangmai #chiangmaivip #honeymoonchiangmai #journeychiangmai #northernthailand #chiangmaiguide #guidetochiangmai#tourismchiangmai #tourismthailand,chiang mai,chiang mai photo,travel chiang mai ,tour thailand,holiday chiang mai,vacation chiang mai ,เชียงใหม่ ,ท่องเที่ยวเชียงใหม่ ,chiang mai hotel ,thailand chiang mai,family tour,tour group,vip tour,tour company เชียงใหม่ ,ภาคเหนือ , tour chiangmai แพ็คเกจทัวร์เชียงใหม่ Chiang Mai travel , Chiang Mai Tour,chiang mai package tour,trip chiangmai,ทริปเหนือ,เชียงใหม่ทริป ,honeymoon chiang mai ,chiang mai attractions,chiang mai activity,Chiang mai ,Chiang mai tour, tour chiang mai ,trip planner,advisor chiang mai , VIP,family tours, honeymoon tours, Sightseeing ,vacation , shopping chiang mai , holiday chiang mai ,thailand tour package , trip chiangmai ,thailand tour,tour thai,northtrip,hotel chiangmai,tour,guide ,จองห้อง ประชุม สัมมนา ,งานเลี้ยง ,กิจกรรมต่างๆ ,ปาร์ตี้ส่วนตัว ,Tour organize,golf arrangement ,events ,ทัศนศึกษา, ดูงาน ,ประชุมสัมมนา, ฝึกอบรม,STAFF PARTY และงานสังสรรค์ต่าง ๆ,พิธีการและงานมงคลต่าง ๆ,งานแต่งงาน  ,ฉลองเปิดบริษัท ,Theme party  ,Staff Party ,team building ,mice
    

 

 

TAT License : 21-00777
มากกว่าคำว่าทัวร์ ใส่ใจ ทุกรายละเอียด เรียกหา คนไทยทัวร์ 

3/112  ถ.รัตนโกสินทร์ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

โทร :   095-8789598 
     @konthaitour  , bassktt 

อีเมล์ :  konthaitour@hotmail.com  
 www.konthaitour.com